.









































วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ
         ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสาน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า เฮือไฟ จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมนที โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้ กล่าวคือพระพุทธเจ้าเสด็จไปฝั่งแม่น้ำนัมนที ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพญานาคที่เมืองบาดาล และพญานาคได้ทูลขอพระพุทธองค์ประทับรอบพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมนที ต่อมาบรรดาเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายได้มาสักการะบูชา รอยพระพุทธบาท นอกจากนี้ประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูล และเป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ให้ลอยไปกับสายน้ำ
         ในช่วงใกล้ออกพรรษา ชาวบ้านจะเตรียมจัดเรือไฟ โดยเอาต้นกล้วยมาเสียบไม้ต่อกันให้ยาว วางสองแถว นำไม้ไผ่มาผูกไขว้เป็นตารางสี่เหสี่ยมและมัดด้วยลวดให้แน่นอน หลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบภาพบนแผงว่าจะสร้างสรรค์อย่างไร ต่อจากนั้นก็จะนำจีวรเก่าของพระมาฉีกแล้วชโลม ด้วยน้ำมันให้ชุ่มพอประมาณ นำไปผึ่งแดดประมาณ 6-7 วัน จนมีสีน้ำตาลเข้ม นำไปมัดและผูกด้วยลวด ภายในเรือจะนำกล้วย อ้อย เผือก มัน ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ใส่ไว้เพื่อเป็นทานให้แก่ผู้สัญจรไปมา
         เมื่อถึงเวลาตอนเย็นชาวบ้านต่างพากันลงเรือและร้องเพลงกันอย่างสนุกสนานพอตอนค่ำก็จุดไฟในเรือ ลากไปกลางน้ำแล้วปล่อยให้เรือลอยไปเรื่อยๆ โดยยังมีการควบคุมเรืออยู่แต่พอพ้นเขตหมู่บ้าน ก็จะมีคนมาเอาสิ่งของในเรือไปจนหมด
         ระยะหลังได้มีการดัดแปลงการทำเรือไฟให้แปลกตา ใช้น้ำมันก๊าดหรือน้ำมันโซล่า แทนขี้ไต้ แพหยวกก็เปลี่ยนมาเป็นถังเหล็ก ใช้โครงเหล็กเพื่อความทนทานและดัดแปลงรูปร่างได้หลากหลาย จึงได้มีการจัดประกวดเรือไฟขึ้น ในงานประเพณีได้รับพระราชทานไฟพระฤกษ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย
         ในงานประเพณีไหลเรือไฟ จะมีความยิ่งใหญ่สวยงามตระการตา แต่ก็มีข้อคิดและสาระที่แฝงอยู่นั้นก็คือ ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจังเนื่องจากเมื่อมนุษย์เกิดมาก็ต้องดำเนินชีวิตไปด้วยความสุขและความทุกข์ แต่สุดท้ายมนุษย์ทุกคนก็จะต้องตาย ชีวิตดับสูญไปในที่สุด
 

บุญบั้งไฟ



บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีประจำปีของชาวภาคอีสาน ที่สืบเนื่อง
มาจากพิธีการขอฝนของพญาแถน หรือเทวดา โดยจัดพิธีจุดบั้งไฟ
เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเพาะปลูกเมื่อหลังเทศกาลสงกรานต์
ราวเดือน 6 ของทุกปีหากแต่ชาวยโสธรโดยเฉพาะชาวคุ้มบ้านต่างๆ
ในเขตอำเภอเมือง ร่วมแรงร่วมใจทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟของเมือง
ยโสธรเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และเป็นประเพณี
ที่สำคัญของประเทศ

ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ประกอบด้วยนิทานปรัมปรา  2  เรื่อง  คือ เรื่องท้าว
ผาแดงและนางไอ่และนิทานเรื่องพญาแถนและพญาคันคาก  (คางคก)  เรื่องพญาแถนนั้น
กล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นคางคก   อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ครั้งนั้นพญาแถน
เทพผู้เป็นใหญ่ที่สุดในท้องฟ้า ผู้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เกิดพิโรธทำสงครามกับ
ชาวโลกและบันดาลให้ฝนไม่ตกเลย 7  ปี 7 เดือน  ชาวโลกได้รับความเดือดร้อนส่งใครไปรบก็
พ่ายแพ้กลับมากลับมาหมดชาวโลกพากันหนีพญาแถนมาที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัย
อยู่ในที่สุดพญาคางคกได้รวมพลังสัตว์โลก  ไปรบกับพญาแถน ปลวกได้ก่อจอมปลวกขึ้นไปถึง
สวรรค์ มอดไม้ไปเจาะด้ามอาวุธทหารพญาแถน แมลงป่อง ตะขาบ มดไปกัดไพร่พลพญาแถน
ในที่สุดพญาแถนก็พ่ายแพ้ถูกจับตัวได้ ขอทำสัญญาสงบศึก  โดยมีข้อตกลงว่าหากวันใดที่ชาว
โลกยิงบั้งไฟขึ้นไปบนท้องฟ้าจะบันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นฤดูฝน  หากได้ยินกบเขียดร้องก็จะ
ทราบได้ว่า ฝนตกแล้ว หากชาวโลกเล่นว่าวเมื่อใดก็จะให้ฝนหยุดตกกลายเป็นฤดูหนาว  ดังนั้น
สมัยต่อ ๆ มาเมื่อถึงเดือนหกเข้าฤดูทำนา ประชาชนจะจุดบั้งไฟสื่อสารให้พญาแถนทราบว่าถึง
เวลาที่จะบันดาลฝนให้ชาวบ้าน และจะได้เริ่มต้นฤดูการทำนากันได้

"บั้ง" แปลว่า "ไม้กระบอก" บั้งไฟเป็นดอกไม้เพลิง ทำจากกระบอก
ไม้ไผ่ที่อัดดินปืนเพื่อการจุดระเบิดให้พุ่งขึ้นไปในอากาศเป็นการ
บวงสรวงพญาแถนโดยมีขนาดที่นิยมอยู่ 3 ขนาดคือ
"บั้งไฟธรรมดา"บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม
"บั้งไฟหมื่น"บรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม
"บั้งไฟแสน"บรรจุดินปืนถึงขนาด120 กิโลกรัม
ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็แปลว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
ก็จะพากันเลี้ยงฉลองรื่นเริงกันในหมู่ผู้ที่ไม่ร่วมงาน ถ้าบั้งไฟแตก
หรือไม่ขึ้นก็หมายความว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นต้น

ในวันแรกของเทศกาลหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "วันโฮม"  จะมีการนำเอาบั้งไฟออกมาแห่แหน
ตามเมืองกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจุดกันกลางทุ่งนา    โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟ
ต้องทำเป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร     แล้วจุดชนวนให้ดินปืนเกิด
การระเบิด ปัจจุบันได้มีการประกวดความสวยงามและความสูงของบั้งไฟที่จุดขึ้นไปบนท้องฟ้า
และหากบั้งไฟอันไหนไม่ยอมพุ่งขึ้นเพราะดินปืนด้านเจ้าของบั้งไฟก็จะถูกจับโยนลงในโคลนตม
กลางทุ่งนาเป็นการทำโทษ ประเพณีการเล่นบั้งไฟที่นิยมกันมากเวลานี้คือยโสธร

วันวิสาขบูชา

 วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญเกี่ยวกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยถือว่าเป็นวันคล้ายวันประสูติ
ตรัสรู้และปรินิพพาน ซึ่งแม้จะต่างปีกันแต่ก็ตรงกันทั้ง 3 อย่างคือ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นที่น่าอัศจรรย์
ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อน้อมระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสัตว์โลก

 คำว่า"วิสาขะ"แปลว่า"เดือน 6" วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า"วิสาขบุรณมีบูชา"แปลว่า การบูชา
พระในวันเพ็ญเดือน 6 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 วันวิสาขบูชาก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติในวันนี้คือการไปทำบุญตักบาตรที่วัดและฟังพระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา
พอตกค่ำก็ทำพิธีแห่เวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ร่วมกับพระภิกษุสงฆ์โดยประทักษิณ คือการเวียนขวา 3 รอบ ขณะ
ที่เดินควรสำรวมใจระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์

 การเวียนเทียนนี้เป็นการแสดงความเคารพบูชาตามหลักวัฒนธรรมไทยเป็นระเบียบที่ปฏิบัติกันมาแต่
โบราณกาลเวลาเวียนเทียนไม่ควรแสดงกิริยาวาจาคะนอง ไม่เคารพ อีกทั้งขณะเดินเวียนเทียนควรเว้นระยะให้ห่าง
พอสมควร อย่าให้ไฟธูปเทียนไปโดยผู้ที่อยู่ใกล้ หรือให้เทียนหยดโดยผู้ที่อยู่ด้านหน้า เมื่อเวียนครบ 3 รอบแล้วก็ไป
ประชุมฟังพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถต่อไป

 กิจกรรมต่างๆ  ที่ควรปฏิบัติในวันวิสาขบูชา
 ๑.  ทำบุญใส่บาตร  กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
 ๒.  ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม  ฟังพระธรรมเทศนา
 ๓.  ไปเวียนเทียน  ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศานา
 ๔.  จัดแสดงนิทรรศการ  ประวัติ  หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา
 ๕.  ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน  วัดและสถานที่ราชการ

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย



ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จะจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (เหนือ)
ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 6 ทางภาคกลาง ชาวบ้านจะพากันเดินทางมาสรงน้ำเพื่อสักการะ
พระธาตุหริภุญชัยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยน้ำที่นำ
มาสรงองค์พระธาตุนั้นชาวลำพูนมักขึ้นไปตักจากบ่อน้ำทิพย์บนยอดดอยขะม้อ ซึ่งชาวลำพูนเชื่อ
กันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

 วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหารจังหวัดลำพูน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 1700 ในรัชสมัย
พระเจ้าอาทิตยราชส่วนสถูปสุวรรณเจดีย์ในบริเวณเดียวกันนั้นสร้างโดยพระนางปทุมวดี พระมเหสี
ของพระเจ้าอาทิตยราช

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

      ในช่วงวันออกพรรษา นอกจากจะมีการทำบุญแล้ว ชาวอีสานในบางท้องที่ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล
      จะช่วยกันทำปราสาทผึ้งเพื่อนำไปถวายวัดในคุ้มของตน จนกลายมาเป็นงานบุญประเพณีแห่งปราสาทผึ้ง
      ขึ้นเพื่อรักษาประเพณีดั้งเดิม โดยการจัดตกแต่งเครื่องสักการะเป็นรูปปราสาททำด้วยขี้ผึ้งเป็นส่วนประกอบ
      สำคัญ มีการออกแบบลวดลายและประดับประดาอย่างวิจิตรพิสดารเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เพราะเชื่อกันว่า
      ในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลกหลังจากที่เสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดานั้น ทวยเทพ
      มวลมนุษย์ต่างก็จัดเครื่องสักการบูชามารับเสด็จปราสาทผึ้งและเรือไฟก็เป็นเครื่องสักการะในวันนั้นด้วยชาว
      บ้านจึงได้ทำปราสาทและเรือไฟมาถวายเป็นพุทธบูชาสืบต่อกันมางานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งมีขึ้นในหลาย
      จังหวัดในภาคอีสาน อาทิเช่น 

      ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งที่ อ.เชียงคาน จ.เลย จะจัดขึ้นตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 เรื่อยไปจนถึง
      เช้าของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหลังวันออกพรรษาที่จัดให้มีการตักบาตรเทโว
  
      เช้าวันแรก    จะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งของคุ้มวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนรถพร้อมกับสาวงามนั่งเป็นเทพ
      ประจำขบวน จะเคลื่อนเข้าสู่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอ  ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานทั้ง 5 วัน เพื่อประกวดประชัน
      ความงดงามให้ประชาชนได้ชม ในงานวันที่สองจะมีการแข่งเรือยาว หรือที่เรียกว่า "การส่วงเฮือ"จะมีไปจน
      ถึงวันที่ 3 ของงานซึ่งเป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศวันที่ 4  เป็นวันที่คณะกรรมการจัดงานจะทำพิธีบายศรี
      สู่ขวัญ ตัดสินความงามปราสาทผึ้ง ส่วนในวันที่ 5 พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร แต่ละคุ้มวัดก็
      จะร่วมกันปล่อยเรือไฟที่ช่วยกันทำให้ไหลไปตามแม่น้ำโขงเพื่อเป็นการบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์

      ส่วนงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ที่ อ.เมือง จ.สกลนครจะมีขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ในระหว่าง
      วันขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลาสามวันวันแรกจะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งของคุ้มวัดต่างๆ เคลื่อน
      ไปยังสระพังทอง เพื่อประกวดและทำการตัดสิน เมื่อทราบผลการประกวดในวันที่สองแล้วจะเคลื่อนขบวนแห่
      ต่อไปยังองค์พระบรมธาตุเชิงชุมเพื่อถวายสักการะเป็นพุทธบูชาแด่หลวงพ่อองค์แสนและในวันที่สามเมื่อคณะ
      กรรมการทำพิธีมอบรางวัลให้แก่คุ้มวัดต่างๆ แล้วทั้งขบวนแห่  ผู้เข้าร่วมพิธี พุทธศาสนิกชนก็จะร่วมกันทำพิธี
      เวียนเทียนรอบองค์พระธาตุเชิงชุมเพื่อเป็นการสักการะบูชา

      นอกจากนี้ ในวันงานประเพณีจะมีการแข่งขันเรือยาว ฝีพายและมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมโบราณ
      ของอีสาน และมหรสพต่างๆ ให้ชมทุกคืน

ประเพณีสงกรานต์


กิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมใฟ้มีการปฏิบัติ ดังนี้
การเตรียมงาน- การเตรียมเครื่องนุ่งห่ม เป็นการเตรียมเครื่องนุ่งห่มให้สะอาด
เรียบร้อย หรือจะใช้ชุดใหม่ก็ได้ รวมทั้งการเตรียมผ้าสำหรับใช้
ในการไหว้บิดา มารดา หรือ ญาติผู้ใหญ่คนรักนับถือ
- การทำความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยบริเวณต่าง ๆ ในชุมชนที่อยู่ เช่น วัดวาอารามที่จะใช้เป็นสถานที่
สำหรับทำบุญหรือที่สาธารณะอื่น ๆ
การจัดงาน- การทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปเลี้ยงพระที่วัด
เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว
- การก่อเจดีย์ทราย โดยขนทรายเข้าวัด แล้วร่วมกันก่อเจดีย์
ทรายเป็นรูปเจดีย์หริอรูปสัตว์ต่าง ๆปักธงหลากสี  ธูปเทียน
และดอกไม้เป็นเครื่องบูชาพระ
- การทำทาน โดยการปล่อยนก ปล่อยให้นกไปสู่อิสระ ไปป่า
ปล่อยปลาปล่อยแม่ปลาหรือปลาใหญ่รวมทั้งการฟังเทศน์
ถือศีลปฏิบัติธรรม
- การสรงน้ำพระพุทธรูปในบ้านและที่วัด โดยใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด
เช่น ดอกมะลิ
- สรงน้ำพระภิกษุสามเณรด้วยน้ำสะอาด แล้วถวายผ้าสบงหรือผ้าไตร
- การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ
หรือตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ
- การเล่นรดน้ำ เชื่อมความสัมพันธ์กับญาติมิตรสหาย โดยใช้น้ำสะอาดและเล่นอย่างสุภาพ
เหมาะสมกับกาลเทศะไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ หรือละเมิดสิทธเสรีภาพผู้อื่น
- การละเล่นรื่นเริงอื่น ๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ


          
 ปัจจุบันในช่วงประเพณีสงกรานต์ มีกิจกรรมบางอย่างที่มีการปฏิบัติในลักษณะที่เบี่ยงเบน
       ไปในทางที่ไม่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณีหริอส่งผลกระทบต่อความ
       ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งควรจะมีการป้องกันและแก้ไขกิจกรรมที่เบี่ยงเบนดังกล่าว ได้แก่

           กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณี
           กิจกรรมเบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (กิจกรรมที่ห้ามกระทำโดยเด็ดขาด) 
           กิจกรรมที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง
           แนวทางการดำเนินงานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ

จากประวัติที่เล่าสืบต่อกันมานั้น มีปรากฎในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามว่า เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีบุตร บ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุรา ซึ่งมีบุตร 2 คน มีผิวเนื้อเหมือนทอง วันหนึ่งนักเลง สุรานั้นเข้าไปกล่าวคำหยาบคายต่อเศรษฐี เศรษฐีจึงถามว่าเหตุใดจึงมาหมิ่นประมาทต่อเราผู้มีสมบัติ มากนักเลงสุราจึงตอบว่า ถึงท่านมีสมบัติก็ไม่มีบุตร ตายแล้วสมบัติก็จะสูญเปล่า เรามีบุตรเห็นว่า ประเสริฐกว่า ท่านเศรษฐีมีความละอายใจจึงบวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งอธิษฐานขอบุตรถึง สามปีก็มิได้มีบุตรอยู่มาถึงวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีจึงพาบริวารไป ยังต้นไทรอันเป็นที่อยู่แห่งฝูงนกทั้งปวงริมฝั่งน้ำ จึงเอาข้าวสารล้างน้ำ 7 ครั้ง แล้วหุงขึ้นบูชาพระไทร ประโคมพิณพาทย์ตั้งอธิษฐานขอบุตร พระไทรมีความกรุณาจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้ ธรรมบาลเทวบุตรลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดแล้วจึงให้ชื่อว่าธรรมบาลกุมาร ปลูก ปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรริมฝั่งน้ำนั้น กุมารเจริญขึ้น ก็รู้ภาษานกแล้วเรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุได้ เจ็ดขวบได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ในขณะนั้นโลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหม และกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคล แก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบจึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ สัญญาไว้ว่าถ้าแก้ ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ปัญหานั้นว่า ข้อ 1 เช้าราศีอยู่แห่งใด ข้อ 2 เที่ยวราศีอยู่แห่งใด ข้อ 3 ค่ำราศีอยู่แห่งใด ธรรมบาลกุมารขอผลัด 7 วันเพื่อตอบปัญหา ครั้นล่วงไปได้หกวันธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้จึงนึกว่าพรุ่งนี้จะตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม ไม่ต้องการ จำจะหนีไปซุกซ่อนตายเสียดีกว่า จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาล 2 ต้น มีนกอินทรี 2 ตัว ผัวเมียทำรังอยู่บนต้นตาลนั้น ครั้นเวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามี บอกว่าจะกินศพธรรมบาลกุมารซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสียเพราะทายปัญหาไม่ออกนางนกถามว่าปัญหา นั้นอย่างไรสามีจึงบอกเล่าปัญหาให้เมียฟังนางนกถามว่าจะแก้อย่างไรสามีบอกว่าเช้าราศีอยู่ที่หน้ามนุษย์ จึงเอาน้ำล้างหน้าเวลาเที่ยงราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า ธรรมบาลกุมารได้ยินดังนั้นก็กลับไปปราสาท วันรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ก็แก้ตามที่ได้ยินมา ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้ง 7 อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกันแล้ว บอกว่าเราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร ศีรษะของเราถ้าตั้งไว้บนแผ่นดิน ไฟจะไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งขึ้นบน อากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้ง 7 นั้นเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะ ส่งให้ธิดาองค์ใหญ่นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้ แล้วแห่ทำประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วก็เชิญประดิษฐานไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่าง ๆ พระเวสสุกรรมก็นฤมิตร แล้วด้วยแก้วเจ็ดประการ ชื่อภควดีให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมูลาดลงมาล้างในสระ อโนดาตเจ็ดครั้งแล้ว แจกกันสังเวยทุก ๆองค์ ครั้นถึงครบกำหนด 365 วันโลกสมมุติว่าปีหนึ่งเป็นสงกรานต์ นางเทพธิดาเจ็ดองค์จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี ธิดาทั้ง 7 ของท้าวกบิลพรหม ซึ่งเราสมมุติเรียกว่านางสงกรานต์นั้น มีชื่อต่าง ๆ ดังนี้ คือ ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันอาทิตย์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า ทุงษ ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันจันทร์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า โคราด ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันอังคาร นางสงกรานต์มีชื่อว่า รากษส ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันพุธ นางสงกรานต์มีชื่อว่า มัณฑา ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันพฤหัสบดี นางสงกรานต์มีชื่อว่า กิริณี ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันศุกร์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า กิมิทา ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันเสาร์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า มโหทร - 13 เมษายน วันมหาสงกรานต์ - 14 เมษายน วันเถลิงศก - 15 เมษายน วันเนา ประเพณีสงกรานต์ของไทยนั้น โดยปกติจะถือเอาช่วงวันที่ 13-14 เมษายน ของทุกปี เป็นช่วงระยะเวลา ของเทศกาลสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม กำหนดช่วงเวลาสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไปบ้างขึ้น อยู่กับประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วงวันสงกรานต์ จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนาดังนี้ คุณค่าต่อต่อครอบครัวทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกันเพื่อแสดงความกตัญญู กตเวทิตาเช่นช่วยกันทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านใหม่ ช่วยกันทำขนมไว้ทำบุญและเลี้ยงลูกหลาน ขนมไทย สงกรานต์ กะละแม ลอกช่องน้ำกะทิ ฯลฯ จัดหาผ้าใหม่มอบให้คนรักนับถือ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมทั้ง แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ คุณค่าต่อชุมชนทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ส่งขนม/ของกินให้แก่กันและกัน ร่วมกันทำบุญให้ทาน พบปะสังสรรค์ สนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน คุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื่ออาทรต่อบุคคลในสังคมและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการ ช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ คุณค่าต่อศาสนา ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนา โดยการทำบุญตักบาตร เลื้ยงพระ การปฏิบัติ ธรรมฟังเทศน์ การสรงน้ำพระ

ประเพณีปอยส่างลอง



ประเพณี "ปอยส่างลอง"  หรือ  "ประเพณีบวชลูกแก้ว"   เป็นประเพณีประจำปี
ของชาวไตหรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มี
อายุครบบวชเข้าบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไป

 คำว่า "ปอยส่างลอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ ซึ่งสามารถแยกศัพท์ออกได้คือ "ปอย"
แปลว่างานหรือพิธีการ "ส่าง" หมายถึง สามเณร ส่วน "ลอง" แปลว่า ยังไม่ได้เป็น ฉะนั้น
เมื่อนำมารวมกันจะหมายถึงพิธีการเตรียมตัวเป็นสามเณรนั่นเอง   กระบวนการปอยส่างลอง    จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการชักชวนกันของชาวบ้านที่มีลูกหลาน อายุครบบวช โดยจะมีการคัดเลือกเจ้าภาพใหญ่   ซึ่งจะเป็นแม่งานในการจัดงาน ซึ่งมักจะเป็น คหบดีหรือผู้กว้างขวางในสังคมโดยเจ้าภาพจะมีหน้าที่ในการร่วมกันกำหนดขั้นตอนของพิธีการ   ส่วนเด็กที่มีอายุครบบวช    จะถูกนำตัวไปอยู่วัดเพื่อเรียนรู้วัตรปฎิบัติสำหรับการเป็น สามเณรก่อนพิธีการประมาณ 20 วัน   ส่วนผู้ใหญ่ก็จะวางกำหนดการวันประกอบพิธีซึ่งจะแบ่ง เป็น  3  วัน วันรับส่างลองไปฝึกวัตรปฏิบัติที่วัดกลับมาประกอบพิธีที่บ้านเจ้าภาพ  วันที่สองเป็น วันแห่เครื่องไทยทานและเรียกขวัญส่างลอง  (คล้ายๆ กับการทำขวัญนาค)  ซึ่งจะประกอบด้วย ขบวนแห่ฟ้อนรำแบบไทยใหญ่ขบวนมโหรี  ขบวนแห่เครื่องไทยทาน  เครื่องอัฐบริขาร  เทียนเงิน เทียนทอง เป็นต้น    ซึ่งส่างลองจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม  และจะขี่คอ ผู้ช่วยที่เรียกกันว่า  "ตาแปส่างลอง"  ตลอดการเดินทาง   และวันที่สามเป็นวันบรรพชา  ซึ่งก็ไม่ แตกต่างจากการบรรพชาในส่วนอื่นๆ ของประเทศเท่าใดนัก