.









































วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่

I ประเพณีท้องถิ่น > ภาคเหนือ > ภาคกลาง > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > ภาคใต I
 
ดูรูปภาพ ประเพณีลอยเรือ
ชื่อ
ประเพณีลอยเรือ
ภาคภาคใต้
จังหวัดกระบี่


ช่วงเวลา ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และเดือน ๑๑

ความสำคัญ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากินในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้

พิธีกรรม
ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเลจะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือ
เช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือผู้หญิงจะร้องรำทำเพลง ในขณะที่รอรับไม้บริเวณชายฝั่ง แล้วขบวนแห่จะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีฉลองเรือโดยมีการรำรอบเรือ เพื่อถวายวิญญาณบรรพบุรุษโดยใช้ดนตรีและเพลงรำมะนาประกอบวงหนึ่งและอีกวงจะเป็นการรำวงแบบสมัยใหม่มีดนตรีชาโดว์ประกอบการร้องรำ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน
บ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธีฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย

สาระ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยวเนื่องกับตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโวย การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือ หมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้ามลมห้ามฝน ลายฟันปลา หมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีตุ๊กตาไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบครัวเดินทางไปกับเรือและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำติดตัวไปยังถิ่นฐานเดิมที่เรียกว่า "ฆูนุงฌึไร"
การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนา เป็นส่วนประกอบที่เร้าใจและเป็นการรำถวายต่อบรรพบุรุษ ทุกคนที่รำเชื่อว่าจะได้บุญ
โต๊ะหมอผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เชื่อว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือถือว่าจะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุขและโชคดีในการทำมาหากิน
I ประเพณีท้องถิ่น > ภาคเหนือ > ภาคกลาง > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > ภาคใต I
 
ดูรูปภาพ ประเพณีลอยเรือ
ชื่อ
ประเพณีลอยเรือ
ภาคภาคใต้
จังหวัดกระบี่


ช่วงเวลา ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และเดือน ๑๑

ความสำคัญ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากินในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้

พิธีกรรม
ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเลจะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือ
เช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือผู้หญิงจะร้องรำทำเพลง ในขณะที่รอรับไม้บริเวณชายฝั่ง แล้วขบวนแห่จะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีฉลองเรือโดยมีการรำรอบเรือ เพื่อถวายวิญญาณบรรพบุรุษโดยใช้ดนตรีและเพลงรำมะนาประกอบวงหนึ่งและอีกวงจะเป็นการรำวงแบบสมัยใหม่มีดนตรีชาโดว์ประกอบการร้องรำ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน
บ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธีฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย

สาระ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยวเนื่องกับตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโวย การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือ หมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้ามลมห้ามฝน ลายฟันปลา หมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีตุ๊กตาไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบครัวเดินทางไปกับเรือและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำติดตัวไปยังถิ่นฐานเดิมที่เรียกว่า "ฆูนุงฌึไร"
การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนา เป็นส่วนประกอบที่เร้าใจและเป็นการรำถวายต่อบรรพบุรุษ ทุกคนที่รำเชื่อว่าจะได้บุญ
โต๊ะหมอผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เชื่อว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือถือว่าจะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุขและโชคดีในการทำมาหากิน

เดิมประเทศไทยกำหนดให้ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2432 โดยถือว่าวันที่ 31 มีนาคม เป็นวันสุดท้ายของปีเก่าและวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งมีการ จัดฉลองต่อเนื่องกันไปจนถึงวันตรุษสงกรานต์ ต่อมาในปี พ.ศ.2484 ได้เปลี่ยนมากำหนดให้ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันขึ้น ปีใหม่ตามแบบสากล และถือปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ถึงวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี 1. เพื่อเป็นการฉลองชีวิตของคนที่อยู่รอดปลอดภัยในระหว่างปีที่ผ่านมาเป็นการส่งท้าย ปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นชีวิตในวันใหม่ ด้วยการทำความดีและทำบุญทำทาน เพื่อความเป็น สิริมงคล และความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินชีวิตในปีใหม่นั้น ๆ ต่อไป 2. เพื่อเป็นการฉลองความสำเร็จแห่งกิจการงานต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินมาด้วยความเรียบร้อย และผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มาได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งการสร้างบุญกุศลอันเป็นทุนสำรองไว้สำหรับการ ดำเนินชีวิตและกิจการงานในปีใหม่ต่อไป 3. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล อันเป็นส่วนแห่งความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษของตน ตามหน้าที่ของคนไทยที่พึงสนองคุณแก่บุพการี 4. เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมอันดีงาม

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ มีกิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟู และส่งเสริมให้มี
การถือปฏิบัติและสืบทอดต่อไป ได้แก่
1. การทำความสะอาดที่อยู่อาศัย อาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่น   วัด
โรงเรียน  สถานที่ทำงาน รวมทั้งเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ เพื่อต้อนรับปีใหม่
2. การทำบุญให้ทาน ฟังเทศน์ ถือศีลและปฏิบัติธรรม
3. การปล่อยนกปล่อยปลา

4.   การเยี่ยมเยียน บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่เพื่อขอพร และรับพร
 5.   การมอบของขวัญและอวยพรซึ่งกันและกันเพื่อให้มีความสุขความเจริญในการดำเนินชีวิต
 6.   การจัดกิจกรรมอื่น ๆ ตามประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น

 

 ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ มีกิจกรรมบางอย่างที่มีลักษณะการปฏิบัติที่เบี่ยงเบนไปในทางที่
ไม่เหมาะสมหรืออาจส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมทประเพณี หรือส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน กิจกรรมเบี่ยงเบนดังกล่าว ได้แก่

   กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณี
   กิจกรรมเบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
   กิจกรรมที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง
   แนวทางการดำเนินงานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น