.









































วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บุญบั้งไฟ



บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีประจำปีของชาวภาคอีสาน ที่สืบเนื่อง
มาจากพิธีการขอฝนของพญาแถน หรือเทวดา โดยจัดพิธีจุดบั้งไฟ
เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเพาะปลูกเมื่อหลังเทศกาลสงกรานต์
ราวเดือน 6 ของทุกปีหากแต่ชาวยโสธรโดยเฉพาะชาวคุ้มบ้านต่างๆ
ในเขตอำเภอเมือง ร่วมแรงร่วมใจทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟของเมือง
ยโสธรเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และเป็นประเพณี
ที่สำคัญของประเทศ

ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ประกอบด้วยนิทานปรัมปรา  2  เรื่อง  คือ เรื่องท้าว
ผาแดงและนางไอ่และนิทานเรื่องพญาแถนและพญาคันคาก  (คางคก)  เรื่องพญาแถนนั้น
กล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นคางคก   อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ครั้งนั้นพญาแถน
เทพผู้เป็นใหญ่ที่สุดในท้องฟ้า ผู้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เกิดพิโรธทำสงครามกับ
ชาวโลกและบันดาลให้ฝนไม่ตกเลย 7  ปี 7 เดือน  ชาวโลกได้รับความเดือดร้อนส่งใครไปรบก็
พ่ายแพ้กลับมากลับมาหมดชาวโลกพากันหนีพญาแถนมาที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัย
อยู่ในที่สุดพญาคางคกได้รวมพลังสัตว์โลก  ไปรบกับพญาแถน ปลวกได้ก่อจอมปลวกขึ้นไปถึง
สวรรค์ มอดไม้ไปเจาะด้ามอาวุธทหารพญาแถน แมลงป่อง ตะขาบ มดไปกัดไพร่พลพญาแถน
ในที่สุดพญาแถนก็พ่ายแพ้ถูกจับตัวได้ ขอทำสัญญาสงบศึก  โดยมีข้อตกลงว่าหากวันใดที่ชาว
โลกยิงบั้งไฟขึ้นไปบนท้องฟ้าจะบันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นฤดูฝน  หากได้ยินกบเขียดร้องก็จะ
ทราบได้ว่า ฝนตกแล้ว หากชาวโลกเล่นว่าวเมื่อใดก็จะให้ฝนหยุดตกกลายเป็นฤดูหนาว  ดังนั้น
สมัยต่อ ๆ มาเมื่อถึงเดือนหกเข้าฤดูทำนา ประชาชนจะจุดบั้งไฟสื่อสารให้พญาแถนทราบว่าถึง
เวลาที่จะบันดาลฝนให้ชาวบ้าน และจะได้เริ่มต้นฤดูการทำนากันได้

"บั้ง" แปลว่า "ไม้กระบอก" บั้งไฟเป็นดอกไม้เพลิง ทำจากกระบอก
ไม้ไผ่ที่อัดดินปืนเพื่อการจุดระเบิดให้พุ่งขึ้นไปในอากาศเป็นการ
บวงสรวงพญาแถนโดยมีขนาดที่นิยมอยู่ 3 ขนาดคือ
"บั้งไฟธรรมดา"บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม
"บั้งไฟหมื่น"บรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม
"บั้งไฟแสน"บรรจุดินปืนถึงขนาด120 กิโลกรัม
ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็แปลว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
ก็จะพากันเลี้ยงฉลองรื่นเริงกันในหมู่ผู้ที่ไม่ร่วมงาน ถ้าบั้งไฟแตก
หรือไม่ขึ้นก็หมายความว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นต้น

ในวันแรกของเทศกาลหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "วันโฮม"  จะมีการนำเอาบั้งไฟออกมาแห่แหน
ตามเมืองกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจุดกันกลางทุ่งนา    โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟ
ต้องทำเป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร     แล้วจุดชนวนให้ดินปืนเกิด
การระเบิด ปัจจุบันได้มีการประกวดความสวยงามและความสูงของบั้งไฟที่จุดขึ้นไปบนท้องฟ้า
และหากบั้งไฟอันไหนไม่ยอมพุ่งขึ้นเพราะดินปืนด้านเจ้าของบั้งไฟก็จะถูกจับโยนลงในโคลนตม
กลางทุ่งนาเป็นการทำโทษ ประเพณีการเล่นบั้งไฟที่นิยมกันมากเวลานี้คือยโสธร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น