.









































วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ
         ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสาน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า เฮือไฟ จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมนที โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้ กล่าวคือพระพุทธเจ้าเสด็จไปฝั่งแม่น้ำนัมนที ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพญานาคที่เมืองบาดาล และพญานาคได้ทูลขอพระพุทธองค์ประทับรอบพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมนที ต่อมาบรรดาเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายได้มาสักการะบูชา รอยพระพุทธบาท นอกจากนี้ประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูล และเป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ให้ลอยไปกับสายน้ำ
         ในช่วงใกล้ออกพรรษา ชาวบ้านจะเตรียมจัดเรือไฟ โดยเอาต้นกล้วยมาเสียบไม้ต่อกันให้ยาว วางสองแถว นำไม้ไผ่มาผูกไขว้เป็นตารางสี่เหสี่ยมและมัดด้วยลวดให้แน่นอน หลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบภาพบนแผงว่าจะสร้างสรรค์อย่างไร ต่อจากนั้นก็จะนำจีวรเก่าของพระมาฉีกแล้วชโลม ด้วยน้ำมันให้ชุ่มพอประมาณ นำไปผึ่งแดดประมาณ 6-7 วัน จนมีสีน้ำตาลเข้ม นำไปมัดและผูกด้วยลวด ภายในเรือจะนำกล้วย อ้อย เผือก มัน ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ใส่ไว้เพื่อเป็นทานให้แก่ผู้สัญจรไปมา
         เมื่อถึงเวลาตอนเย็นชาวบ้านต่างพากันลงเรือและร้องเพลงกันอย่างสนุกสนานพอตอนค่ำก็จุดไฟในเรือ ลากไปกลางน้ำแล้วปล่อยให้เรือลอยไปเรื่อยๆ โดยยังมีการควบคุมเรืออยู่แต่พอพ้นเขตหมู่บ้าน ก็จะมีคนมาเอาสิ่งของในเรือไปจนหมด
         ระยะหลังได้มีการดัดแปลงการทำเรือไฟให้แปลกตา ใช้น้ำมันก๊าดหรือน้ำมันโซล่า แทนขี้ไต้ แพหยวกก็เปลี่ยนมาเป็นถังเหล็ก ใช้โครงเหล็กเพื่อความทนทานและดัดแปลงรูปร่างได้หลากหลาย จึงได้มีการจัดประกวดเรือไฟขึ้น ในงานประเพณีได้รับพระราชทานไฟพระฤกษ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย
         ในงานประเพณีไหลเรือไฟ จะมีความยิ่งใหญ่สวยงามตระการตา แต่ก็มีข้อคิดและสาระที่แฝงอยู่นั้นก็คือ ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจังเนื่องจากเมื่อมนุษย์เกิดมาก็ต้องดำเนินชีวิตไปด้วยความสุขและความทุกข์ แต่สุดท้ายมนุษย์ทุกคนก็จะต้องตาย ชีวิตดับสูญไปในที่สุด
 

บุญบั้งไฟ



บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีประจำปีของชาวภาคอีสาน ที่สืบเนื่อง
มาจากพิธีการขอฝนของพญาแถน หรือเทวดา โดยจัดพิธีจุดบั้งไฟ
เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเพาะปลูกเมื่อหลังเทศกาลสงกรานต์
ราวเดือน 6 ของทุกปีหากแต่ชาวยโสธรโดยเฉพาะชาวคุ้มบ้านต่างๆ
ในเขตอำเภอเมือง ร่วมแรงร่วมใจทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟของเมือง
ยโสธรเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และเป็นประเพณี
ที่สำคัญของประเทศ

ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ประกอบด้วยนิทานปรัมปรา  2  เรื่อง  คือ เรื่องท้าว
ผาแดงและนางไอ่และนิทานเรื่องพญาแถนและพญาคันคาก  (คางคก)  เรื่องพญาแถนนั้น
กล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นคางคก   อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ครั้งนั้นพญาแถน
เทพผู้เป็นใหญ่ที่สุดในท้องฟ้า ผู้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เกิดพิโรธทำสงครามกับ
ชาวโลกและบันดาลให้ฝนไม่ตกเลย 7  ปี 7 เดือน  ชาวโลกได้รับความเดือดร้อนส่งใครไปรบก็
พ่ายแพ้กลับมากลับมาหมดชาวโลกพากันหนีพญาแถนมาที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัย
อยู่ในที่สุดพญาคางคกได้รวมพลังสัตว์โลก  ไปรบกับพญาแถน ปลวกได้ก่อจอมปลวกขึ้นไปถึง
สวรรค์ มอดไม้ไปเจาะด้ามอาวุธทหารพญาแถน แมลงป่อง ตะขาบ มดไปกัดไพร่พลพญาแถน
ในที่สุดพญาแถนก็พ่ายแพ้ถูกจับตัวได้ ขอทำสัญญาสงบศึก  โดยมีข้อตกลงว่าหากวันใดที่ชาว
โลกยิงบั้งไฟขึ้นไปบนท้องฟ้าจะบันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นฤดูฝน  หากได้ยินกบเขียดร้องก็จะ
ทราบได้ว่า ฝนตกแล้ว หากชาวโลกเล่นว่าวเมื่อใดก็จะให้ฝนหยุดตกกลายเป็นฤดูหนาว  ดังนั้น
สมัยต่อ ๆ มาเมื่อถึงเดือนหกเข้าฤดูทำนา ประชาชนจะจุดบั้งไฟสื่อสารให้พญาแถนทราบว่าถึง
เวลาที่จะบันดาลฝนให้ชาวบ้าน และจะได้เริ่มต้นฤดูการทำนากันได้

"บั้ง" แปลว่า "ไม้กระบอก" บั้งไฟเป็นดอกไม้เพลิง ทำจากกระบอก
ไม้ไผ่ที่อัดดินปืนเพื่อการจุดระเบิดให้พุ่งขึ้นไปในอากาศเป็นการ
บวงสรวงพญาแถนโดยมีขนาดที่นิยมอยู่ 3 ขนาดคือ
"บั้งไฟธรรมดา"บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม
"บั้งไฟหมื่น"บรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม
"บั้งไฟแสน"บรรจุดินปืนถึงขนาด120 กิโลกรัม
ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็แปลว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
ก็จะพากันเลี้ยงฉลองรื่นเริงกันในหมู่ผู้ที่ไม่ร่วมงาน ถ้าบั้งไฟแตก
หรือไม่ขึ้นก็หมายความว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นต้น

ในวันแรกของเทศกาลหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "วันโฮม"  จะมีการนำเอาบั้งไฟออกมาแห่แหน
ตามเมืองกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจุดกันกลางทุ่งนา    โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟ
ต้องทำเป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร     แล้วจุดชนวนให้ดินปืนเกิด
การระเบิด ปัจจุบันได้มีการประกวดความสวยงามและความสูงของบั้งไฟที่จุดขึ้นไปบนท้องฟ้า
และหากบั้งไฟอันไหนไม่ยอมพุ่งขึ้นเพราะดินปืนด้านเจ้าของบั้งไฟก็จะถูกจับโยนลงในโคลนตม
กลางทุ่งนาเป็นการทำโทษ ประเพณีการเล่นบั้งไฟที่นิยมกันมากเวลานี้คือยโสธร

วันวิสาขบูชา

 วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญเกี่ยวกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยถือว่าเป็นวันคล้ายวันประสูติ
ตรัสรู้และปรินิพพาน ซึ่งแม้จะต่างปีกันแต่ก็ตรงกันทั้ง 3 อย่างคือ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นที่น่าอัศจรรย์
ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อน้อมระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสัตว์โลก

 คำว่า"วิสาขะ"แปลว่า"เดือน 6" วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า"วิสาขบุรณมีบูชา"แปลว่า การบูชา
พระในวันเพ็ญเดือน 6 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 วันวิสาขบูชาก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติในวันนี้คือการไปทำบุญตักบาตรที่วัดและฟังพระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา
พอตกค่ำก็ทำพิธีแห่เวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ร่วมกับพระภิกษุสงฆ์โดยประทักษิณ คือการเวียนขวา 3 รอบ ขณะ
ที่เดินควรสำรวมใจระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์

 การเวียนเทียนนี้เป็นการแสดงความเคารพบูชาตามหลักวัฒนธรรมไทยเป็นระเบียบที่ปฏิบัติกันมาแต่
โบราณกาลเวลาเวียนเทียนไม่ควรแสดงกิริยาวาจาคะนอง ไม่เคารพ อีกทั้งขณะเดินเวียนเทียนควรเว้นระยะให้ห่าง
พอสมควร อย่าให้ไฟธูปเทียนไปโดยผู้ที่อยู่ใกล้ หรือให้เทียนหยดโดยผู้ที่อยู่ด้านหน้า เมื่อเวียนครบ 3 รอบแล้วก็ไป
ประชุมฟังพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถต่อไป

 กิจกรรมต่างๆ  ที่ควรปฏิบัติในวันวิสาขบูชา
 ๑.  ทำบุญใส่บาตร  กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
 ๒.  ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม  ฟังพระธรรมเทศนา
 ๓.  ไปเวียนเทียน  ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศานา
 ๔.  จัดแสดงนิทรรศการ  ประวัติ  หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา
 ๕.  ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน  วัดและสถานที่ราชการ

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย



ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จะจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (เหนือ)
ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 6 ทางภาคกลาง ชาวบ้านจะพากันเดินทางมาสรงน้ำเพื่อสักการะ
พระธาตุหริภุญชัยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยน้ำที่นำ
มาสรงองค์พระธาตุนั้นชาวลำพูนมักขึ้นไปตักจากบ่อน้ำทิพย์บนยอดดอยขะม้อ ซึ่งชาวลำพูนเชื่อ
กันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

 วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหารจังหวัดลำพูน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 1700 ในรัชสมัย
พระเจ้าอาทิตยราชส่วนสถูปสุวรรณเจดีย์ในบริเวณเดียวกันนั้นสร้างโดยพระนางปทุมวดี พระมเหสี
ของพระเจ้าอาทิตยราช

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

      ในช่วงวันออกพรรษา นอกจากจะมีการทำบุญแล้ว ชาวอีสานในบางท้องที่ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล
      จะช่วยกันทำปราสาทผึ้งเพื่อนำไปถวายวัดในคุ้มของตน จนกลายมาเป็นงานบุญประเพณีแห่งปราสาทผึ้ง
      ขึ้นเพื่อรักษาประเพณีดั้งเดิม โดยการจัดตกแต่งเครื่องสักการะเป็นรูปปราสาททำด้วยขี้ผึ้งเป็นส่วนประกอบ
      สำคัญ มีการออกแบบลวดลายและประดับประดาอย่างวิจิตรพิสดารเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เพราะเชื่อกันว่า
      ในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลกหลังจากที่เสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดานั้น ทวยเทพ
      มวลมนุษย์ต่างก็จัดเครื่องสักการบูชามารับเสด็จปราสาทผึ้งและเรือไฟก็เป็นเครื่องสักการะในวันนั้นด้วยชาว
      บ้านจึงได้ทำปราสาทและเรือไฟมาถวายเป็นพุทธบูชาสืบต่อกันมางานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งมีขึ้นในหลาย
      จังหวัดในภาคอีสาน อาทิเช่น 

      ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งที่ อ.เชียงคาน จ.เลย จะจัดขึ้นตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 เรื่อยไปจนถึง
      เช้าของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหลังวันออกพรรษาที่จัดให้มีการตักบาตรเทโว
  
      เช้าวันแรก    จะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งของคุ้มวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนรถพร้อมกับสาวงามนั่งเป็นเทพ
      ประจำขบวน จะเคลื่อนเข้าสู่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอ  ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานทั้ง 5 วัน เพื่อประกวดประชัน
      ความงดงามให้ประชาชนได้ชม ในงานวันที่สองจะมีการแข่งเรือยาว หรือที่เรียกว่า "การส่วงเฮือ"จะมีไปจน
      ถึงวันที่ 3 ของงานซึ่งเป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศวันที่ 4  เป็นวันที่คณะกรรมการจัดงานจะทำพิธีบายศรี
      สู่ขวัญ ตัดสินความงามปราสาทผึ้ง ส่วนในวันที่ 5 พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร แต่ละคุ้มวัดก็
      จะร่วมกันปล่อยเรือไฟที่ช่วยกันทำให้ไหลไปตามแม่น้ำโขงเพื่อเป็นการบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์

      ส่วนงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ที่ อ.เมือง จ.สกลนครจะมีขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ในระหว่าง
      วันขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลาสามวันวันแรกจะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งของคุ้มวัดต่างๆ เคลื่อน
      ไปยังสระพังทอง เพื่อประกวดและทำการตัดสิน เมื่อทราบผลการประกวดในวันที่สองแล้วจะเคลื่อนขบวนแห่
      ต่อไปยังองค์พระบรมธาตุเชิงชุมเพื่อถวายสักการะเป็นพุทธบูชาแด่หลวงพ่อองค์แสนและในวันที่สามเมื่อคณะ
      กรรมการทำพิธีมอบรางวัลให้แก่คุ้มวัดต่างๆ แล้วทั้งขบวนแห่  ผู้เข้าร่วมพิธี พุทธศาสนิกชนก็จะร่วมกันทำพิธี
      เวียนเทียนรอบองค์พระธาตุเชิงชุมเพื่อเป็นการสักการะบูชา

      นอกจากนี้ ในวันงานประเพณีจะมีการแข่งขันเรือยาว ฝีพายและมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมโบราณ
      ของอีสาน และมหรสพต่างๆ ให้ชมทุกคืน

ประเพณีสงกรานต์


กิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมใฟ้มีการปฏิบัติ ดังนี้
การเตรียมงาน- การเตรียมเครื่องนุ่งห่ม เป็นการเตรียมเครื่องนุ่งห่มให้สะอาด
เรียบร้อย หรือจะใช้ชุดใหม่ก็ได้ รวมทั้งการเตรียมผ้าสำหรับใช้
ในการไหว้บิดา มารดา หรือ ญาติผู้ใหญ่คนรักนับถือ
- การทำความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยบริเวณต่าง ๆ ในชุมชนที่อยู่ เช่น วัดวาอารามที่จะใช้เป็นสถานที่
สำหรับทำบุญหรือที่สาธารณะอื่น ๆ
การจัดงาน- การทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปเลี้ยงพระที่วัด
เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว
- การก่อเจดีย์ทราย โดยขนทรายเข้าวัด แล้วร่วมกันก่อเจดีย์
ทรายเป็นรูปเจดีย์หริอรูปสัตว์ต่าง ๆปักธงหลากสี  ธูปเทียน
และดอกไม้เป็นเครื่องบูชาพระ
- การทำทาน โดยการปล่อยนก ปล่อยให้นกไปสู่อิสระ ไปป่า
ปล่อยปลาปล่อยแม่ปลาหรือปลาใหญ่รวมทั้งการฟังเทศน์
ถือศีลปฏิบัติธรรม
- การสรงน้ำพระพุทธรูปในบ้านและที่วัด โดยใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด
เช่น ดอกมะลิ
- สรงน้ำพระภิกษุสามเณรด้วยน้ำสะอาด แล้วถวายผ้าสบงหรือผ้าไตร
- การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ
หรือตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ
- การเล่นรดน้ำ เชื่อมความสัมพันธ์กับญาติมิตรสหาย โดยใช้น้ำสะอาดและเล่นอย่างสุภาพ
เหมาะสมกับกาลเทศะไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ หรือละเมิดสิทธเสรีภาพผู้อื่น
- การละเล่นรื่นเริงอื่น ๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ


          
 ปัจจุบันในช่วงประเพณีสงกรานต์ มีกิจกรรมบางอย่างที่มีการปฏิบัติในลักษณะที่เบี่ยงเบน
       ไปในทางที่ไม่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณีหริอส่งผลกระทบต่อความ
       ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งควรจะมีการป้องกันและแก้ไขกิจกรรมที่เบี่ยงเบนดังกล่าว ได้แก่

           กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณี
           กิจกรรมเบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (กิจกรรมที่ห้ามกระทำโดยเด็ดขาด) 
           กิจกรรมที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง
           แนวทางการดำเนินงานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ

จากประวัติที่เล่าสืบต่อกันมานั้น มีปรากฎในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามว่า เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีบุตร บ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุรา ซึ่งมีบุตร 2 คน มีผิวเนื้อเหมือนทอง วันหนึ่งนักเลง สุรานั้นเข้าไปกล่าวคำหยาบคายต่อเศรษฐี เศรษฐีจึงถามว่าเหตุใดจึงมาหมิ่นประมาทต่อเราผู้มีสมบัติ มากนักเลงสุราจึงตอบว่า ถึงท่านมีสมบัติก็ไม่มีบุตร ตายแล้วสมบัติก็จะสูญเปล่า เรามีบุตรเห็นว่า ประเสริฐกว่า ท่านเศรษฐีมีความละอายใจจึงบวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งอธิษฐานขอบุตรถึง สามปีก็มิได้มีบุตรอยู่มาถึงวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีจึงพาบริวารไป ยังต้นไทรอันเป็นที่อยู่แห่งฝูงนกทั้งปวงริมฝั่งน้ำ จึงเอาข้าวสารล้างน้ำ 7 ครั้ง แล้วหุงขึ้นบูชาพระไทร ประโคมพิณพาทย์ตั้งอธิษฐานขอบุตร พระไทรมีความกรุณาจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้ ธรรมบาลเทวบุตรลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดแล้วจึงให้ชื่อว่าธรรมบาลกุมาร ปลูก ปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรริมฝั่งน้ำนั้น กุมารเจริญขึ้น ก็รู้ภาษานกแล้วเรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุได้ เจ็ดขวบได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ในขณะนั้นโลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหม และกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคล แก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบจึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ สัญญาไว้ว่าถ้าแก้ ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ปัญหานั้นว่า ข้อ 1 เช้าราศีอยู่แห่งใด ข้อ 2 เที่ยวราศีอยู่แห่งใด ข้อ 3 ค่ำราศีอยู่แห่งใด ธรรมบาลกุมารขอผลัด 7 วันเพื่อตอบปัญหา ครั้นล่วงไปได้หกวันธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้จึงนึกว่าพรุ่งนี้จะตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม ไม่ต้องการ จำจะหนีไปซุกซ่อนตายเสียดีกว่า จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาล 2 ต้น มีนกอินทรี 2 ตัว ผัวเมียทำรังอยู่บนต้นตาลนั้น ครั้นเวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามี บอกว่าจะกินศพธรรมบาลกุมารซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสียเพราะทายปัญหาไม่ออกนางนกถามว่าปัญหา นั้นอย่างไรสามีจึงบอกเล่าปัญหาให้เมียฟังนางนกถามว่าจะแก้อย่างไรสามีบอกว่าเช้าราศีอยู่ที่หน้ามนุษย์ จึงเอาน้ำล้างหน้าเวลาเที่ยงราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า ธรรมบาลกุมารได้ยินดังนั้นก็กลับไปปราสาท วันรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ก็แก้ตามที่ได้ยินมา ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้ง 7 อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกันแล้ว บอกว่าเราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร ศีรษะของเราถ้าตั้งไว้บนแผ่นดิน ไฟจะไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งขึ้นบน อากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้ง 7 นั้นเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะ ส่งให้ธิดาองค์ใหญ่นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้ แล้วแห่ทำประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วก็เชิญประดิษฐานไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่าง ๆ พระเวสสุกรรมก็นฤมิตร แล้วด้วยแก้วเจ็ดประการ ชื่อภควดีให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมูลาดลงมาล้างในสระ อโนดาตเจ็ดครั้งแล้ว แจกกันสังเวยทุก ๆองค์ ครั้นถึงครบกำหนด 365 วันโลกสมมุติว่าปีหนึ่งเป็นสงกรานต์ นางเทพธิดาเจ็ดองค์จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี ธิดาทั้ง 7 ของท้าวกบิลพรหม ซึ่งเราสมมุติเรียกว่านางสงกรานต์นั้น มีชื่อต่าง ๆ ดังนี้ คือ ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันอาทิตย์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า ทุงษ ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันจันทร์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า โคราด ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันอังคาร นางสงกรานต์มีชื่อว่า รากษส ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันพุธ นางสงกรานต์มีชื่อว่า มัณฑา ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันพฤหัสบดี นางสงกรานต์มีชื่อว่า กิริณี ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันศุกร์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า กิมิทา ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันเสาร์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า มโหทร - 13 เมษายน วันมหาสงกรานต์ - 14 เมษายน วันเถลิงศก - 15 เมษายน วันเนา ประเพณีสงกรานต์ของไทยนั้น โดยปกติจะถือเอาช่วงวันที่ 13-14 เมษายน ของทุกปี เป็นช่วงระยะเวลา ของเทศกาลสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม กำหนดช่วงเวลาสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไปบ้างขึ้น อยู่กับประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วงวันสงกรานต์ จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนาดังนี้ คุณค่าต่อต่อครอบครัวทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกันเพื่อแสดงความกตัญญู กตเวทิตาเช่นช่วยกันทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านใหม่ ช่วยกันทำขนมไว้ทำบุญและเลี้ยงลูกหลาน ขนมไทย สงกรานต์ กะละแม ลอกช่องน้ำกะทิ ฯลฯ จัดหาผ้าใหม่มอบให้คนรักนับถือ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมทั้ง แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ คุณค่าต่อชุมชนทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ส่งขนม/ของกินให้แก่กันและกัน ร่วมกันทำบุญให้ทาน พบปะสังสรรค์ สนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน คุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื่ออาทรต่อบุคคลในสังคมและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการ ช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ คุณค่าต่อศาสนา ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนา โดยการทำบุญตักบาตร เลื้ยงพระ การปฏิบัติ ธรรมฟังเทศน์ การสรงน้ำพระ

ประเพณีปอยส่างลอง



ประเพณี "ปอยส่างลอง"  หรือ  "ประเพณีบวชลูกแก้ว"   เป็นประเพณีประจำปี
ของชาวไตหรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มี
อายุครบบวชเข้าบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไป

 คำว่า "ปอยส่างลอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ ซึ่งสามารถแยกศัพท์ออกได้คือ "ปอย"
แปลว่างานหรือพิธีการ "ส่าง" หมายถึง สามเณร ส่วน "ลอง" แปลว่า ยังไม่ได้เป็น ฉะนั้น
เมื่อนำมารวมกันจะหมายถึงพิธีการเตรียมตัวเป็นสามเณรนั่นเอง   กระบวนการปอยส่างลอง    จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการชักชวนกันของชาวบ้านที่มีลูกหลาน อายุครบบวช โดยจะมีการคัดเลือกเจ้าภาพใหญ่   ซึ่งจะเป็นแม่งานในการจัดงาน ซึ่งมักจะเป็น คหบดีหรือผู้กว้างขวางในสังคมโดยเจ้าภาพจะมีหน้าที่ในการร่วมกันกำหนดขั้นตอนของพิธีการ   ส่วนเด็กที่มีอายุครบบวช    จะถูกนำตัวไปอยู่วัดเพื่อเรียนรู้วัตรปฎิบัติสำหรับการเป็น สามเณรก่อนพิธีการประมาณ 20 วัน   ส่วนผู้ใหญ่ก็จะวางกำหนดการวันประกอบพิธีซึ่งจะแบ่ง เป็น  3  วัน วันรับส่างลองไปฝึกวัตรปฏิบัติที่วัดกลับมาประกอบพิธีที่บ้านเจ้าภาพ  วันที่สองเป็น วันแห่เครื่องไทยทานและเรียกขวัญส่างลอง  (คล้ายๆ กับการทำขวัญนาค)  ซึ่งจะประกอบด้วย ขบวนแห่ฟ้อนรำแบบไทยใหญ่ขบวนมโหรี  ขบวนแห่เครื่องไทยทาน  เครื่องอัฐบริขาร  เทียนเงิน เทียนทอง เป็นต้น    ซึ่งส่างลองจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม  และจะขี่คอ ผู้ช่วยที่เรียกกันว่า  "ตาแปส่างลอง"  ตลอดการเดินทาง   และวันที่สามเป็นวันบรรพชา  ซึ่งก็ไม่ แตกต่างจากการบรรพชาในส่วนอื่นๆ ของประเทศเท่าใดนัก  

ปะเพณีวันมาฆบูชา



"มาฆะ"  เป็นชื่อของเดือน  ๓  มาฆบูชานั้น  ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชา
พระในวันเพ็ญ เดือน ๓  วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น  ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือ
มีเดือน  ๘ สองครั้ง  วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น  ๑๕ ค่ำ  เดือน ๔  เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในวัน
พุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต"
และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวัน
วิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อจะยังพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
                       
                    คำว่า   "จาตุรงคสันนิบาต"   แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ  "จาตุร" แปลว่า ๔   "องค์" แปลว่า ส่วน   
" สันนิบาต"แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาต จึงหมายความว่า"การประชุมด้วยองค์ ๔ "กล่าวคือ
มีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
                     ๑.  เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวัน
                          วิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
                    ๒.  พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น  "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรง
           จากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
                     ๓.  พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
                     ๔.  เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ์

                      การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรใน ตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหา
อาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระ แสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากัน
นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้า
อาวาสจะนำว่า  นะโม  ๓ จบ จากนี้นกล่าวคำ  ถวายดอกไม้  ธูปเทียน  ทุกคนว่าตาม  จบแล้วเดิน เวียนขวา 
ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียน
ไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี

                       กิจกรรมต่างๆ  ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
                   ๑.  ทำบุญใส่บาตร
                    ๒.  ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม  และฟังพระธรรมเทศนา
                    ๓.  ไปเวียนเทียนที่วัด
     ๔.  ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ



ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ   เป็นประเพณีประจำเมืองนครศรีธรรมราชอีกประเพณีหนึ่ง
ซึ่งจะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งคือในวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา   
 โดยชาวนครศรีธรรมราช    จะร่วมแรงร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สินเงินทองตามกำลัง
ศรัทธา    แล้วรวบรวมเงินจำนวนนั้นไปซื้อผ้าเป็นชิ้นๆ  ซึ่งมักจะเป็นสีเหลือง สีขาว หรือสีแดง
แล้วนำมาเย็บต่อกันเข้าเป็นแถบยาว

   นับเป็นพันๆ หลา  จากนั้นก็จะพากันแห่ผ้าดังกล่าวไปยัง วัดพระมหาธาตุมหาวิหาร  โดยแห่ทักษิณาวรรตรอบองค์ พระธาตุ  3  รอบ    แล้วจึงนำเข้าสู่วิหารพระม้าหรือพระ ทรงม้า ซึ่งเป็นพระวิหารที่มีบันไดขึ้นสู่ภายในกำแพงแก้ว ล้อมฐานพระบรมธาตุ เพื่อนำผ้านั้นไปพันโอบรอบฐาน องค์พระบรมธาตุเจดีย์   ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ
พระพุทธเจ้าเป็นการถวายสักการะอย่างหนึ่งประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุหรือพระธาตุเมืองนครศรี ธรรมราชนับเป็นประเพณีที่รวบรวมเอาศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาหล่อหลอมแสดงความเป็น เป็นปึกแผ่นในศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างไม่เสื่อมคลาย

ประเพณีกำฟ้า



ประเพณีกำฟ้าเป็นประเพณีพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนในจังหวัดสิงห์บุรี
 ซึ่งถือว่าเป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือเทวดาผู้รักษาท้องฟ้า ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมีความเชื่อ
 สืบต่อกันมาว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากทวยเทพ
 ผู้รักษาท้องฟ้าแล้ว เทพยดาอารักษ์ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

  "วันกำฟ้า" ของพวกไทยพวนในหมู่บ้านต่างๆ จะถูกจัดขึ้นไม่ตรงกัน  แล้วแต่
 ท้องที่ แต่จะถือกันว่าให้จัดขึ้นภายใน 3 เดือน คือเดือนอ้ายขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ และ
 เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ สำหรับในจังหวัดสิงห์บุรีจะถือเอาวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกๆ ปีเป็นวัน
 กำฟ้า
  ในวันแรกของงานคือวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 หรือที่เรียกว่า "วันสุกดิบ" นี้ชาวบ้าน
 จะช่วยกันทำ "ข้าวปุ้น"หรือ "ขนมจีน" กับทั้งน้ำยาหรือน้ำพริกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำไปทำ
 บุญถวายพระที่วัดส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งแต่ต่อมาจะแจกจ่ายให้ตามบ้านญาติพี่น้อง  เพื่อเป็น
 การแสดงความเอื้ออารีต่อกัน และถือเป็นการทำกุศลอย่างหนึ่งน้อยกว่าได้มีการ    เปลี่ยนจาก
 ข้าวปุ้นมาเป็นการเผา "ข้าวหลาม" แทน หรือที่เรียกกันว่า"ข้าวหลามทิพย์" แทนเพราะลงทุน
 และเก็บได้หลายวันบางคนจึงเรียกงานบุญกำฟ้าว่า "งานบุญข้าวหลาม" ก็มี
  พิธีทางสงฆ์ในวันกำฟ้านี้  จะมีพระสงฆ์จำนวน 9 รูปมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น  
 จากนั้นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เรียกกันว่า "อาจารย์" จะแต่งชุดสีขาว ก็จะทำพิธีสวดเบิกบายศรี
 บูชาเทวดาพร้อมกับอัญเชิญเทวดาทั่วสารทิศมารับเครื่องสังเวยและดูพิธีกรรม มีการรำขอพร
 โดยหญิงสาวภายในหมู่บ้าน เสร็จจากการรำถวายแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
  สำหรับชาวบ้านเมื่อเสร็จจากทำบุญในตอนเช้าแล้ว ตอนบ่ายก็จะร่วมพิธีกรรม
 ร่วมกันส่วนในตอนเย็นชาวบ้านก็จะร่วมกันเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ไม้หึ่ม มอญซ่อนผ้า ช่วงรำ
 วิ่งวัว(ใช้คนวิ่งเป็นคู่ๆ ผู้คว้าธงแดงได้ก่อนเป็นผู้ชนะ) ตีไก่ หรือการเล่นแตะหม่าเปย (คล้าย
 สะบ้า) กันอย่างสนุกสนาน
  และต่อจากนี้ไปอีก 5 วัน  ชาวบ้านก็จะจัดสำรับกับข้าวอาหารคาวหวานไปถวาย
 พระภิกษุที่วัดอีกครั้งหนึ่งเมื่อเสร็จจากการทำบุญแล้วก็จะนำเอาฟืนซึ่งกำลังลุกอยู่ในเตาไฟ
 ดุ้นหนึ่งไปลอยในแม่น้ำลำคลอง ที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
 บนท้องฟ้าเพื่อจะบันดาลให้ฝนตกลงมา  และในช่วง 7 วันนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะคอยฟังเสียงฟ้า
 ร้องคำรามว่ามาจากทิศใด  ห่างหรือถี่ขนาดไหนแล้วก็จะทำนายทายทักไปตามทิศนั้นว่าปีนี้
 ฝนจะตกมากหรือตกน้อย การทำนาจะได้ผลดีหรือได้ผลน้อย เป็นต้น

ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ

เป็นงานประเพณีดั้งเดิมของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดนครสวรรค์  เนื่องในโอกาสฉลอง
วันตรุษจีนของทุกปี ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2457 ซึ่งตรงกับวันขึ้น  4  ค่ำ เดือน  1 ของจีนในงานจะมีการแห่
มังกรทอง  ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นเทพเจ้าที่บันดาลคุณประโยชน์อย่างมากแก่มวลมนุษย์จึงแห่แหนเพื่อ
แสดงความกตัญญู มีการเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ตามศาลต่างๆมาแห่ร่วมขบวนด้วยริ้วขบวนอันประกอบด้วย
วงดุริยางค์ ขบวนดนตรีของจีนแต้จิ๋ว ขบวนธง ขบวนเชิดสิงโตกวางตุ้ง สิงโตแคระ สิงโตไหหลำ เอ็งกอ 
ล่อโก๊ะ ขบวนเจ้าพ่อเจ้าแม่ ขบวนมังกรทอง ฯลฯ  แห่ไปตามถนนต่าง ๆ ในตัวเมือง

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่

I ประเพณีท้องถิ่น > ภาคเหนือ > ภาคกลาง > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > ภาคใต I
 
ดูรูปภาพ ประเพณีลอยเรือ
ชื่อ
ประเพณีลอยเรือ
ภาคภาคใต้
จังหวัดกระบี่


ช่วงเวลา ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และเดือน ๑๑

ความสำคัญ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากินในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้

พิธีกรรม
ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเลจะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือ
เช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือผู้หญิงจะร้องรำทำเพลง ในขณะที่รอรับไม้บริเวณชายฝั่ง แล้วขบวนแห่จะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีฉลองเรือโดยมีการรำรอบเรือ เพื่อถวายวิญญาณบรรพบุรุษโดยใช้ดนตรีและเพลงรำมะนาประกอบวงหนึ่งและอีกวงจะเป็นการรำวงแบบสมัยใหม่มีดนตรีชาโดว์ประกอบการร้องรำ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน
บ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธีฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย

สาระ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยวเนื่องกับตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโวย การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือ หมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้ามลมห้ามฝน ลายฟันปลา หมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีตุ๊กตาไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบครัวเดินทางไปกับเรือและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำติดตัวไปยังถิ่นฐานเดิมที่เรียกว่า "ฆูนุงฌึไร"
การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนา เป็นส่วนประกอบที่เร้าใจและเป็นการรำถวายต่อบรรพบุรุษ ทุกคนที่รำเชื่อว่าจะได้บุญ
โต๊ะหมอผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เชื่อว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือถือว่าจะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุขและโชคดีในการทำมาหากิน
I ประเพณีท้องถิ่น > ภาคเหนือ > ภาคกลาง > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > ภาคใต I
 
ดูรูปภาพ ประเพณีลอยเรือ
ชื่อ
ประเพณีลอยเรือ
ภาคภาคใต้
จังหวัดกระบี่


ช่วงเวลา ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และเดือน ๑๑

ความสำคัญ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากินในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้

พิธีกรรม
ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเลจะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือ
เช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือผู้หญิงจะร้องรำทำเพลง ในขณะที่รอรับไม้บริเวณชายฝั่ง แล้วขบวนแห่จะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีฉลองเรือโดยมีการรำรอบเรือ เพื่อถวายวิญญาณบรรพบุรุษโดยใช้ดนตรีและเพลงรำมะนาประกอบวงหนึ่งและอีกวงจะเป็นการรำวงแบบสมัยใหม่มีดนตรีชาโดว์ประกอบการร้องรำ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน
บ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธีฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย

สาระ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยวเนื่องกับตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโวย การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือ หมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้ามลมห้ามฝน ลายฟันปลา หมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีตุ๊กตาไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบครัวเดินทางไปกับเรือและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำติดตัวไปยังถิ่นฐานเดิมที่เรียกว่า "ฆูนุงฌึไร"
การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนา เป็นส่วนประกอบที่เร้าใจและเป็นการรำถวายต่อบรรพบุรุษ ทุกคนที่รำเชื่อว่าจะได้บุญ
โต๊ะหมอผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เชื่อว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือถือว่าจะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุขและโชคดีในการทำมาหากิน

เดิมประเทศไทยกำหนดให้ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2432 โดยถือว่าวันที่ 31 มีนาคม เป็นวันสุดท้ายของปีเก่าและวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งมีการ จัดฉลองต่อเนื่องกันไปจนถึงวันตรุษสงกรานต์ ต่อมาในปี พ.ศ.2484 ได้เปลี่ยนมากำหนดให้ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันขึ้น ปีใหม่ตามแบบสากล และถือปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ถึงวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี 1. เพื่อเป็นการฉลองชีวิตของคนที่อยู่รอดปลอดภัยในระหว่างปีที่ผ่านมาเป็นการส่งท้าย ปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นชีวิตในวันใหม่ ด้วยการทำความดีและทำบุญทำทาน เพื่อความเป็น สิริมงคล และความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินชีวิตในปีใหม่นั้น ๆ ต่อไป 2. เพื่อเป็นการฉลองความสำเร็จแห่งกิจการงานต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินมาด้วยความเรียบร้อย และผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มาได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งการสร้างบุญกุศลอันเป็นทุนสำรองไว้สำหรับการ ดำเนินชีวิตและกิจการงานในปีใหม่ต่อไป 3. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล อันเป็นส่วนแห่งความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษของตน ตามหน้าที่ของคนไทยที่พึงสนองคุณแก่บุพการี 4. เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมอันดีงาม

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ มีกิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟู และส่งเสริมให้มี
การถือปฏิบัติและสืบทอดต่อไป ได้แก่
1. การทำความสะอาดที่อยู่อาศัย อาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่น   วัด
โรงเรียน  สถานที่ทำงาน รวมทั้งเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ เพื่อต้อนรับปีใหม่
2. การทำบุญให้ทาน ฟังเทศน์ ถือศีลและปฏิบัติธรรม
3. การปล่อยนกปล่อยปลา

4.   การเยี่ยมเยียน บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่เพื่อขอพร และรับพร
 5.   การมอบของขวัญและอวยพรซึ่งกันและกันเพื่อให้มีความสุขความเจริญในการดำเนินชีวิต
 6.   การจัดกิจกรรมอื่น ๆ ตามประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น

 

 ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ มีกิจกรรมบางอย่างที่มีลักษณะการปฏิบัติที่เบี่ยงเบนไปในทางที่
ไม่เหมาะสมหรืออาจส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมทประเพณี หรือส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน กิจกรรมเบี่ยงเบนดังกล่าว ได้แก่

   กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณี
   กิจกรรมเบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
   กิจกรรมที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง
   แนวทางการดำเนินงานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ